2 items tagged "โรครากเน่าโคนเน่า"
ทั้งหมด 1 - 2 จาก 2
โรครากเน่าโคนเน่าในมะนาว
- สร้างใน วันศุกร์, 24 มกราคม 2557 23:53
โรครากเน่าโคนเน่าในมะนาว
โรครากเน่าและโคนเน่าในมะนาว โรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora
parasitica Dastur ) ส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะฤดูฝนถึงช่วง
ฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย ทำให้จุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆ
ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็ว
ลักษณะอาการของโรครากเน่าและโคนเน่า
ลักษณะอาการ จะเข้าทำลายรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้นของมะนาว ส่วนใหญ่เกษตรกร
ที่ปลูกมะนาวจะไม่ทราบเลยว่าต้นมะนาวที่ปลูกเป็นโรครากเน่าโคนเน่าจนกว่าต้นมะนาวจะเริ่มแสดงอา
การออกมาให้เห็นทางใบคือ ใบของมะนาวเริ่มมีอาการเหลืองซีดโดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วค่อยๆ
ลุกลามไปเรื่อยๆ และใบก็จะเริ่มร่วงไปเรื่อยๆจนหมดต้นในที่สุด จากนั้นกิ่งของมะนาวเริ่มแห้ง และต้น
มะนาวก็จะยืนต้นตายในที่สุด
วิธีป้องกันหรือรักษา
• อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
• ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คลุกผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักในอัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปโรยรอยๆโคนต้น
ของมะนาว ต้นละ ครึ่งกิโลกรัม หรือจะใช้วิธีผสมน้ำฉีดพ่นก็ได้โดยใช้เชื้อราไตรโค
เดอร์ม่า 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณต้นมะนาว
• ใช้ เมทาแลกซิล โรครากเน่าโคนเน่า (Phytophthora parasitica Dastur.) ใช้ในอัตรา
80-100กรัม ต่อน้ำ 1ลิตร ใช้ทาแผลที่เน่า ถากเปลือกออกบางๆ ให้เห็นขอบแผล หรือ
ใช้ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร รดดินใช้สำหรับรากเน่า
|
|
ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนั่ม
- สร้างใน วันศุกร์, 09 สิงหาคม 2556 16:49
ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนั่ม
วันนี้ทางสวนมะนาวเมืองจันทร์ จะขอพูดถึง ชีวินทรีย์กำจัดศัตรูพืช ที่ชื่อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อ เชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค |
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้หาอ่านจากบทความภายในเว็บได้ >> บทความทั้งหมด |