1 items tagged "โรครากเน่าและโคนเน่า"
ทั้งหมด 1 - 1 จาก 1
โรคต่างๆในมะนาวที่พบมากในฤดูฝน
- สร้างใน วันอาทิตย์, 13 กรกฎาคม 2557 14:01
โรคต่างๆในมะนาวที่พบมากในฤดูฝน
วันนี้ทางสวนจะมาขอพูดถึงโรคต่างๆในมะนาวที่พบมากในฤดูฝน ซึ่งตอนนี้ก็เข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้ว
ทางสวนจึงจะมาบอกถึงโรคต่างๆทีจะพบมากในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อที่จะได้รู้และเตรียมการป้องกัน กันไว้
เพราะหากว่าเกิดโรคต่างๆไปแล้วทางที่จะแก้และรักษานั้นก็จะยาก การเตรียมการป้องกันไว้ก่อนนั้นถือ
เป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนั้นทางสวนจะพาไปรู้จัก ถึงโรคต่างๆที่จะพบในฤดูฝนนี้
1. โรคแคงเกอร์
โรคแคงเกอร์ที่พบในสวนมะนาว จะพบมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม-
เดือนตุลาคมของทุกๆปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis
pv.citri โดยจะแพร่กระจายไปกับลม น้ำ น้ำฝน หรือกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค
การป้องกันและกำจัดโรคแคงเกอร์
การป้องกันและกำจัด สามารถทำได้ด้วยการหมั่นคอยดูแลและตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังแตกใบอ่อน หรือติดผลอ่อนต้องคอยระวังแมลงที่เป็นพาหะ
เช่น หนอนชอนใบ ซึ่งจะเข้ามาทำลายใบอ่อนให้เกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทาง ให้เชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุของโรคแคงเกอร์เข้าทำลายได้ง่าย
การป้องกันโรคแคงเกอร์ สามารถทำได้ด้วยการฉีดพ่นสารเคมี คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์
ในอัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ20 ลิตร โดยทำการพ่นทุก7-10วัน ต่อครั้ง อย่างสม่ำเสมอ
โรครากเน่าและโคนเน่าในมะนาว โรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่า
(Phytophthora parasitica Dastur ) ส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึง
ฤดูหนาว เพราะฤดูฝนถึงช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย
ทำให้จุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็ว
วิธีป้องกันหรือรักษา
• อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
• ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คลุกผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักในอัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปโรยรอยๆโคนต้น
50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณต้นมะนาว
• ใช้ เมทาแลกซิล โรครากเน่าโคนเน่า (Phytophthora parasitica Dastur.) ใช้ในอัตรา
80-100กรัม ต่อน้ำ 1ลิตร ใช้ทาแผลที่เน่า ถากเปลือกออกบางๆ ให้เห็นขอบแผล หรือ
ใช้ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร รดดินใช้สำหรับรากเน่า
3. โรคกรีนนิ่ง
ลักษณะอาการ ใบจะมีสีเหลือง เส้นใบสีเขียว ยอดอ่อนใบจะเรียวชี้ตั้งขึ้นฟ้า ใบมีขนาดเล็ก
ลงในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
วิธีป้องกันหรือรักษา
การป้องกันกำจัดทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ
แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบรากมีปัญหา พืชจึงไม่สามารถ
ดึงธาตุอาหารไปใช้ได้ตามปกติ
|
|