บทความทั้งหมด
สารจับใบมะนาวเพิ่มประสิทธิภาพในการพ่นยา
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ 07 ตุลาคม 2556
- เขียนโดย admin
- ฮิต: 14609
สารจับใบมะนาวเพิ่มประสิทธิภาพในการพ่นยา
การดูแลรักษาต้น,กิ่ง,ใบ ของต้นมะนาวนั้น ชาวสวนมะนาวก็ต้องพ่นยากันหลากหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็น สารกำจัดแมลง ฮอร์โมนซึ่งสารก็มีทั้งแบบน้ำและแบบผงหรือในรูปแบบปุ๋ยเกร็ด การ
พ่นยาในแต่ละครั้งโดยเฉพาะฤดูฝน หากตัวสารโดนน้ำฝนหรือน้ำค้าง สารก็จะถูกชำระล้างออกไป
ทำให้หมดประสิทธิภาพเร็วกว่าที่ควร ทำให้ต้องพ่นยาใหม่ ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองระยะเวลาและยาที่
พ่นอีกทั้งทั้งค่าใช้จ่ายการใช้สารจับใบผสมเข้าไปในตัวยาที่ใช้พ่นในสวนมะนาว ก็จะเป็นการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของตัวยาที่ใช้พ่น ทำให้สารเกาะติดใบพืชได้นานทนต่อการชะล้างของน้ำฝน ซึ่งก็จะ
เป็นประโยชน์ทำให้ประหยัดระยะเวลาประหยัดตัวยาที่ใช้พ่นไม่ต้องพ่นบ่อยๆ อีกทั้งยังประหยัดค่า
ใช้จ่ายไปด้วย
สารจับใบหรือยาจับใบพืช
สารจับใบ หรือยาจับใบ(surfactant) คือ สารที่ช่วยลดแรงตึงผิว
ของใบพืช เมื่อผสมสารจับใบแล้ว ส่วนผสมของสารเคมีเกษตรกร
ที่มีสารจับใบอยู่ด้วยจะไม่เกาะตัวเป็นหยดน้ำ และไหลหล่นจากใบ
พืช แต่สารเคมีเหล่านี้จะกระจายไปทั่วทั้งใบ ทำให้มีประสิทธิภาพ
ในการแทรกซึมเข้าไปในใบพืชมากขึ้น และสารจับใบนี้ ซึ่ง
ปัจจุบันมีอยู่หลายยี่ห้อ ซึ่งก็มีราคาไม่แพงมากประมาณกระติกละ
100บาทปริมาณ 3 ลิตร ราคาจากผลิตภัณฑ์ที่ทางสวนได้ใช้อยู่
คุณสมบัติของสารจับใบที่ใช้ในสวนมะนาว
1. ช่วยให้ยาปราบศัตูพืชต่างชนิดรวมกันดีขึ้น เช่น ยาผง กับยาน้ำ
2. ช่วยลดแรงตึงของผิวละอองน้ำยาที่พ่นทำให้แพร่กระจายกว้าง
และเปียกสม่ำเสมอ ทั่วพื้นผิวของพืชอย่างรวดเร็ว
3. ช่วยให้สารเคมีที่พ่นจับติดแน่น และมีปริมาณมากกว่า สามารถ
มองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้น้ำยาไม่ไหลสูญเสียไป
4. ช่วยยืดอายุการออกฤทธิ์ และเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี
โดยลดการสูญเสียจากสภาพแวดล้อมเช่น แสงแดด ฝนตก
ลม และการให้น้ำ
5. ช่วยลดปริมาณน้ำยาที่พ่น ทำให้ประหยัดและได้ผลเยี่ยม
6. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีผิวมัน ใบนวล ใบคาย
พืชที่มีขน ซึ่งปกติแล้วน้ำยาจะจับติดยาก
วิธีใช้สารจับใบ
ใช้ในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ผสมกับน้ำยาปราบศัตรูพืช,
ปุ๋ยเกร็ด,ธาตุอาหารเสริม,หรือปุ๋ยน้ำต่างๆ แล้วจึงค่อยผสมสารจับ
ใบเป็นสารสุดท้ายที่ผสมลงในถังที่พ่น โดยคนให้ยาที่ผสมให้เข้า
กันเสียก่อนแล้วจึงฉีดพ่น แต่ทั้งนี้แต่ละยี่ห้ออัตราการผสมไม่เท่ากัน
|
|